วันแม่ พระมหาคุณ 10 ประการ กว่ากำเนิดเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่

"วันแม่"
พระมหาคุณ 10 ประการ กว่ากำเนิดเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่
ปัญหา? การที่จะตอบสนองบุญคุณมารดาบิดาได้อย่างถูกต้องและเต็มที่นั้น บุตรธิดาควรจะทำอย่างไรบ้าง ?
พระมหาคุณ 10 ประการ เป็นความทุกข์ที่แม่แบกรับไว้ ดังที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสสรรเสริญถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ว่า
ประการที่หนึ่ง พระคุณที่ปกปักรักษาขณะอยู่ในครรภ์ผูกปัจจัยเหตุสัมพันธ์ในอดีต จุติมาบังเกิดในครรภ์แม่
วันเดือนผ่านอวัยวะห้าเกิดขึ้นแล เจ็ดเจ็ดประสาทแท้เริ่มทำงานบัดนี้หนากายาหนักดั่งคีรี ยามเยื้องย่างดุจมีลมภัยต้านไม่ใส่ใจในอาภรณ์ผ้าแพรพรรณ ยามก้าวผ่านกระจกใสไม่ใยดี
ประการที่สอง พระคุณที่ทนรับความเจ็บปวดขณะคลอดสิบเดือนผ่านมารดาได้อุ้มครรภ์ วันคลอดอันทรมานใกล้แล้วหนาทุกค่ำเช้าดังป่วยหนักร้าวกายา ยามค่ำคืนเหมือนว่าจะเป็นลมยากจะเอ่ยถึงความกลัวได้หมดสิ้น น้ำตารินเต็มทรวงทุกข์ถาโถมบอกญาติมิตรให้รับรู้ความทุกข์ตรม ที่ระทมกลัวความตายมาพรากไป
ประการที่สาม พระคุณที่ให้กำเนิดอย่างปลอดภัยจนลืมทุกข์เมื่อถึงวันแม่กำเนิดทารกน้อย ใจมารดาปลดปล่อยผ่อนคลายได้ความร้อนรุ่มหายปลิดทิ้งกายาใจ เลือดที่ไหลดั่งแพะถูกปลิดชีวีทารกน้อยแข็งแรงยามกำเนิด จิตบังเกิดความปรีดาแสนสุขีความสุขสิ้นความทุกข์โถมเข้าแทนที่ ร้าวฤดีเจ็บปวดกายทรมาน
ประการที่สี่ พระคุณที่ละทิ้งความสุขทุกข์ทนกล้ำกลืนอันบุญคุณพ่อแม่แสนใหญ่หลวง เฝ้าเป็นห่วงดูแลมิขาดสายไม่ยอมเสพความสุขทุกข์มิวาย ยามไม่สบายทนกล้ำกลืนไม่พร่ำบ่นด้วยความรักผูกพันนั้นมากมาย บุญคุณที่มอบให้มากเหลือล้นหวังเพียงให้ลูกน้อยอิ่มชื่นกมล แม่ยอมทนต่อความหิวไม่เป็นไร
ประการที่ห้า พระคุณที่เสียสละปลีกจากที่แห้งทนอยู่ที่เปียกแม่ยินยอมให้กายแม่ทับที่ชื้น เพื่อย้ายลูกแม่คืนที่แห้งไซร้ปทุมถันสองข้างยามกระหาย สองแขนป้องมิให้ลมหนาวกรายบุญคุณแห่งความอาทรมีมากล้น ปนระคนความปีติมีมอบให้เพียงเพื่อเจ้าลูกน้อยได้อุ่นใจ แม่นั้นไซร้ไม่ใฝ่หาความสบาย
ประการที่หก พระคุณของค่าน้ำนมและเฝ้าเลี้ยงดูด้วยความทนุถนอมความเมตตาของแม่ดั่งพสุธา ท้องนภาคุณบิดานั้นเทียบเท่าดินและฟ้าปกคลุมทั่วทุกลำเนา คุณบิดามารดาเฉกเช่นกันไม่ถือโกรธรังเกียจหรือเคียดแค้น ลูกขาแขนไม่ครบไม่เดียดฉันท์ถือเป็นบุตรในสายเลือดสายสัมพันธ์ ชั่วนิรันดร์เฝ้าห่วงแหนแลอาทร
ประการที่เจ็ด พระคุณที่คอยเฝ้าเพียรทำเพื่อลูกจนลืมดูแลตัวเองดั้งเดิมทีแม่งดงามดั่งอุบล กายกมลขวัญชีวาเปี่ยมสดใสคิ้วคมโค้งดุจกิ่งหลิวพริ้วไสว โฉมหน้าไซร้แรกแย้มดั่งโกมุทเฝ้ากล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูมิเหนื่อยล้า คอยรักษาชำระล้างมิยอมหยุดเพื่อลูกน้อยไม่หวั่นต่อความทุกข์ กายแม่ทรุดเปลี่ยนโฉมไปร่วงโรยราประการที่แปด พระคุณที่คอยคิดถึงห่วงหายามจากไกลความตายจากพลัดพรากยากรับไหว แต่ยามอยู่ต้องจากไกลให้แสนเศร้ายิ่งเป็นห่วงลูกออกพ้นผ่านขุนเขา ณ บ้านเราแม่เฝ้าคอยคะนึงหาใจจดจ่อทุกวันติดตามข่าว ใจปวดร้าวทุกครารินน้ำตาดุจวานรถูกพรากจากลูกยา ใจนั้นหนาแทบมลายสลายลง
ประการที่เก้า พระคุณที่เฝ้าคำนึงติดตามเอาใจใส่อันบุญคุณพ่อแม่สุดวาดวัด เหลือคณานับยากทดแทนเป็นหนักหนาลูกพบทุกข์แม่รับแทนทุกเพลา ลูกตรากตรำมารดายิ่งร้อนรนได้ยินว่าออกจากบ้านเดินทางไกล ห่วงอาลัยลูกเหน็บหนาวกรำลมฝนลูกลำบากเพียงชั่วคราวชั่วบัดดล แม่ร้าวราญในกมลชั่วนิรันดร์
ประการที่สิบ พระคุณที่ให้ความรักใคร่ผูกพันอย่างลึกซึ้งอันบุญคุณพ่อแม่สูงส่งนัก มิเคยพักห่วงอาทรแม้นเหนื่อยล้าใจพะวงห่วงลูกทุกเพลา เฝ้าตามมาดูแลทั้งใกล้ไกลแม่ชราอายุเกือบหนึ่งร้อย แต่ยังคอยห่วงลูกแปดสิบได้หากอยากรู้ว่ารักนี้สิ้นยามใด เมื่อชีพวายพลัดพรากดับม้วยมรณ์
วิธีตอบแทนคุณบิดามารดาที่ถูกต้อง
ปัญหา การที่จะตอบสนองบุญคุณมารดาบิดาได้อย่างถูกต้องและเต็มที่นั้น บุตรธิดาควรจะทำอย่างไรบ้าง ?
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่จะตอบแทนคุณแก่บุคคลทั้ง ๒ คือ มารดา ๑ บิดา ๑ เรากล่าวว่ากระทำไม่ได้ง่ายเลย
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงแบกมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง แบกบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุมีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และพึงปฏิบัติบำรุงทั้ง ๒ ด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการบีบนวดอวัยวะต่าง ๆ แก่ท่านทั้งสอง แม้ท่านทั้ง ๒ ก็พึงถ่ายอุจจาระบนบ่านั่นเอง ถึงกระนั้นเขาก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนบุญคุณแก่มารดาบิดา
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงตั้งมารดาไว้ในราชสมบัติ มีอำนาจยิ่งใหญ่ในแผ่นดินใหญ่ อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ แม้กระนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนคุณมารดาบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้บำรุงเลี้ยง เป็นผู้สอนให้ลูกรู้จักโลก
“ส่วนบุตรคนใด ทำให้มารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธาให้สมาทานตั้งมั่นในสัทธาสัมปทา ให้มารดาบิดาผู้มีทุศีลสมาทานตั้งมั่นในสีลสัมปทา ให้บิดามารดาผู้มีความตระหนี่สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ให้มารดาบิดาผู้ทรามปัญญา สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น และบุตรย่อมชื่อว่าเป็นผู้อันกระทำตอบแทนบุญคุณแก่มารดาบิดา
----------------------------------------------------------------------------------
ที่มา http://84000.org/true/569.html
----------------------------------------------------------------------------------
ติดตามเรื่องน่าอ่านอีกมากมาย ได้ที่ เพจนิทานธรรม
เพจ : www.facebook.com/Nitandham
เว็บไซค์ : http://nitandham.blogspot.com
Youtube : https://goo.gl/F27gUr
เข้าร่วมกลุ่มของเราได้ที่
https://www.facebook.com/groups/Nitandham/
----------------------------------------------------------------------------------

วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ

วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ
เพื่อที่จะให้คฤหัสถ์ บุรุษ-สตรีทั้งหลายช่วยกันรักษาภิกษุสงฆ์ให้บริสุทธิ์เป็นนาบุญอย่างดี จะได้เพิ่มปริมาณผลแห่งพืชบุญที่บริจาคหว่านลงไปให้มากยิ่งๆ ขึ้น จึงได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบนำมาเรียบ เรียงเป็นข้อๆ พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ ดังต่อไปนี้
๑.สุภาพสตรี อย่าถูกต้องภิกษุสามเณร
(สังฆาทิเสส ข้อ ๒)
๒.ไม่ควรวานให้พระชักสื่อชายหญิงให้เป็นสามีภรรยากัน แม้ชั่วครั้งชั่วคราว
(สังฆาทิเสส ข้อ ๕)
๓.สุภาพสตรี ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาไปด้วย ไม่ควรเข้าไปหาพระในที่ลับตาหรือลับหู เพราะอาจจะทำให้พระถูกโจทด้วยอาบัติต่างๆ หรือเป็นทางให้เกิดความเสียหายมาก
(อนิยต ข้อ ๑-๒)
**๔.เมื่อศรัทธาจะถวายเงินทองแก่พระภิกษุหรือสามเณรต้องมอบให้แก่ไวยาจักร (ผู้ที่รับทำกิจของท่าน) และแจ้งให้ท่านทราบ อย่ามอบให้ในมือหรือในย่าม หรือในบาตรของท่าน เป็นต้น
(จีวรวรรค ข้อ ๑๐-โกสิยวรรค ข้อ ๘)
๕.บุรุษผู้เป็นไวยาจักร เมื่อรับเงินทองของพระรูปใดไว้เท่าไร ต้องจัดสิ่งของที่พระต้องการถวายพระรูปนั้น ในราคาเท่าเงินทองที่ตนรับไว้นั้น ในเวลาที่ท่านขอ ถ้าเงินทองมากพระขอของน้อย ก็จ่ายเท่าที่ท่านต้องการ เก็บส่วนที่เหลือไว้จ่ายคราวต่อไป
(จีวรวรรค ข้อ ๑๐)
**๖. บุรุษ-สตรี ผู้เป็นพ่อค้า-แม่ค้า ไม่ควรขายของแก่พระภิกษุ หรือสามเณรผู้ที่จับต้องเงิน (ธนบัตร-เหรียญบาทเป็นต้น) มาซื้อด้วยตนเอง
(โกสิยวรรค ข้อ ๙)
๗.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาสิ่งของของตนแลกกับสิ่งของของพระ-ของสามเณร
(โกสิยวรรค ข้อ ๑๐)
๘.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาผ้าอาบน้ำฝนถวายพระก่อนเข้าพรรษามากกว่า ๑ เดือน แม้พระขอก็ไม่ต้องถวาย เว้นไว้แต่พระที่เป็นญาติ และพระที่ตนปวารณาไว้
(ปัตตวรรค ข้อ ๔)
๙.บุรุษ-สตรี เมื่อเตรียมสิ่งของจะถวายแก่สงฆ์ (ไม่เฉพาะบุคคล) ถ้าพระแนะนำให้ถวายเฉพาะตัวท่านเอง หรือให้ถวายเฉพาะพระรูปใดๆ ก็ตาม ไม่ต้องถวายตามคำแนะนำนั้น
(ปัตตวรรค ข้อ ๑๐-สหธรรมิกวรรค ข้อ ๑๒)
๑๐.บุรุษ-สตรี เมื่อเรียนธรรมกับพระ อย่าออกเสียงบทพระธรรมพร้อมกับพระ
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๔)
๑๑.บุรุษ เมื่อนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระครบ ๓ คืนแล้ว ต้องเว้นเสีย ๑ คืน ต่อไปจึงนอนได้อีก
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๕)
๑๒.สตรี ห้ามนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระแม้ในคืนแรก
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๖)
๑๓.บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ขุดดินเหนียวล้วนหรือดินร่วนล้วน ไม่ควรขุด แต่ถ้าพระแสดงความประสงค์ว่าต้องการหลุมหรือคูเป็นต้น หรือว่าต้องการขุดดินให้สูงเท่านั้นเท่านี้เป็นต้น ก็ควรจัดการให้ตามประสงค์
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๑๐)
๑๔.บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ตัดต้นไม้ หรือดายหญ้าที่เกิดอยู่กับดิน หรือให้รื้อถอนผักหญ้าต่างๆ ที่เกิดอยู่ในน้ำ ไม่ควร ตัด-ดาย-รื้อถอน แต่ถ้าพระบอกว่า เราต้องการไม้-หญ้า-ผัก หรือว่าเราต้องการทำความสะอาดในที่ซึ่งเกะกะรุงรัง ด้วยต้นไม้หรือผักหญ้าดังนี้เป็นต้น จึงทำให้
(ภูตคามวรรค ข้อ ๑)
๑๕.บุรุษ-สตรี นิมนต์พระให้ฉันอาหารอย่าออกชื่อโภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ ควรใช้กัปปิยโวหารหรือคำพูดที่สมควร เช่น พูดว่า “ขอนิมนต์ฉันเช้า” หรือว่า “ขอนิมนต์ฉันเพล” และต้องบอกวัน เวลาสถานที่ให้ชัดเจน ทั้งบอกให้พระทราบด้วยว่าให้ไปกันเอง หรือจะมารับ อนึ่งการที่นิมนต์พระให้ฉันนั้นปรารภเรื่องอะไรก็ควรบอกให้ทราบด้วย
(โภชนวรรค ข้อ ๒)
๑๖.บุรุษ-สตรี เมื่อเลยเวลาเพลแล้ว คือตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงวันใหม่ อย่านำอาหารไปประเคนพระ หากเป็นของที่เก็บค้างคืนได้ ไม่บูด ไม่เสีย เช่น ข้าวสาร ปลาดิบ เนื้อดิบ อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ก็มอบไว้แก่ไวยาวัจกรของท่านได้
(โภชนวรรค ข้อ ๗)
๑๗.บุรุษ-สตรี ถ้าพระที่มิใช่ญาติและตนไม่ได้ปวารณาไว้ ไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีต คือข้าวสุกที่ระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม แม้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ควรถวาย แต่ถ้าขอเพื่อผู้เป็นไข้ควรถวายโดยแท้
(โภชนวรรค ข้อ ๙)
๑๘.บุรุษ-สตรี เมื่อประเคนอาหารหรือยาเป็นต้น ทุกอย่างที่พระจะต้องกลืนกิน (ฉัน) ต้องประเคนให้ถูกวิธี ดังนี้
ก. ภาชนะหรือห่อของนั้น ไม่ใหญ่หรือหนักจนเกินไป ยกคนเดียวได้อย่างพอดี
ข. เข้าอยู่ในหัตถบาสของพระ ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นส่วนสุดของสิ่งของหรือของบุคคลผู้ประเคน
ค. น้อมกายถวายด้วยความเคารพ
ง. กิริยาที่ถวายนั้น ถวายด้วยมือหรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่นช้อน-ภาชนะก็ได้
จ. พระรับด้วยมือ หรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่น บาตร-ผ้าก็ได้
(โภชนวรรค ข้อ ๑๐)
๑๙. สตรีไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน ต้องไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดิน ในห้องกับพระ แม้จะมีสตรีหลายคนก็ไม่ได้
(อเจลกวรรค ข้อ ๔)
๒๐.สตรีต้องไม่นั่ง ไม่นอนในที่แจ้งกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง ถ้าสตรีหลายคนนั่งได้ แต่การนอนนั่นไม่ควร แม้การยืน การเดินกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง ด้วยอาการซ่อนเร้นก็ไม่ควร
(อเจลกวรรค ข้อ ๕)
๒๑.บุรุษ-สตรี ที่ไม่ใช่ญาติของพระ แม้จะเป็นเขย สะใภ้ หรือภรรยาเก่าของพระ (ปุราณทุติยิกา) หากมิได้เกี่ยวข้องทางสายโลหิต ก็ชื่อว่ามิใช่ญาติ ถ้ามีศรัทธาจะให้พระขอปัจจัย ๔ หรือสิ่งของต่างๆ จากตนได้ ก็ต้องปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระขอได้โดยลักษณะ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ก. กำหนดปัจจัยหรือสิ่งของ เช่น จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง ยา หนังสือ สมุด ปากกา ฯลฯ
ข. กำหนดเวลา คือให้ขอได้ตลอดเท่านั้นวัน เท่านั้นเดือน เท่านั้นปี ตั้งแต่วันที่เท่าไรถึงเท่าไร
ค. กำหนดทั้งปัจจัย-สิ่งของ และเวลา
ง. ไม่กำหนดทั้งปัจจัย สิ่งของและเวลา ถ้าจะให้ขอได้เป็นนิตย์ ต้องบอกว่า นิมนต์ขอได้ตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อปวารณาแล้ว ถ้าพระขอเกินกำหนดหรือเกิน ๔ เดือน ไม่ควรถวาย เว้นไว้แต่ตนปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์
(อเจลกวรรค ข้อ ๗)
หมายเหตุ :- คำว่า ญาติ ได้แก่คนที่เกี่ยวเนื่องกัน ๗ ชั้น คือ ๑. ทวด ๒. ปู่ย่าตายาย ๓. พ่อแม่ ๔. พี่น้อง ๕. ลูก ๖. หลาน ๗. เหลน
๒๒.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเสพติดให้โทษ เช่น สุราเมรัย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชาถวายพระ
(สุราปานวรรค ข้อ ๑)
๒๓. บุรุษ-สตรี อย่าเอาน้ำที่มีตัวสัตว์ไปตั้งไว้ให้พระบริโภค คือ ดื่ม อาบ ล้างเท้า ใช้สอย
(สัปปาณวรรค ข้อ ๒)
๒๔.บุรุษ-สตรี ผู้นำสินค้าหนีภาษี ไม่ควรเดินทางร่วมกับพระ หรือไม่ควรให้เกี่ยวข้องกับพระ
(สัปปาณวรรค ข้อ ๖)
๒๕.สตรี ไม่ควรชวนพระเดินทางไกล แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง แม้นั่งรถ นั่งเรือ ไปเพียงหนึ่งต่อหนึ่งก็ไม่ควร แม้สตรีหลายคน แต่ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสานั่งไปด้วย ก็ไม่ควร แม้บุรุษไปด้วย หากสตรีขับรถเรือเอง ก็ไม่ควร เว้นไว้แต่เรือข้ามฟาก
(สัปปาณวรรค ข้อ ๗)
๒๖.บุรุษ-สตรี จะถวายอาหารแก่พระผู้อยู่ในป่าอันเป็นที่เปลี่ยว ต้องแจ้งข่าวล่วงหน้าก่อน
(ปาฏิเทสนียะ ข้อ ๔)
๒๗.บุรุษ-สตรี เมื่อพระรับบิณฑบาตเต็มบาตรแล้ว อย่าเอาอาหารวางบนฝาบาตร หรืออย่าใส่ถุงให้พระหิ้ว
(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๔)
๒๘.บุรุษ-สตรี เมื่อนิมนต์พระมาฉันในบ้านต้องจัดที่ฉันให้พร้อม เช่นน้ำล้างเท้า ผ้าเช็ดเท้า น้ำฉัน น้ำใช้ กระโถน ผ้า-กระดาษเช็ดมือ เช็ดปาก ช้อนส้อมและช้อนกลาง อย่าให้บกพร่อง
(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๓๐)
๒๙.บุรุษ-สตรี เมื่อจัดที่ให้พระสวดหรือแสดงพระธรรมเทศนา หรือปาฐกถาธรรม ต้องจัดที่ให้พระนั่ง อย่าให้ยืน และต้องไม่ต่ำกว่าที่ของผู้นั่งฟัง
(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ข้อ ๑๓, ๑๔)
๓๐.บุรุษ-สตรี เมื่อฟังธรรมเทศนาหรือฟังปาฐกถาธรรม ต้องฟังด้วยกิริยาอาการเคารพ แม้ฟังพระสวดในงานมงคลหรืองานศพเป็นต้น ก็ต้องเคารพเช่นเดียวกัน ไม่ควรนั่งคุยกันเลย จะคุยในเวลาพระหยุดสวดได้
(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ทุกข้อ)
๓๑.บุรุษ-สตรี จะถวายร่มแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่สลับสี เช่นร่มผ้าดำล้วน ร่มกระดาษ ร่มพลาสติก สีน้ำตาล สีดำ สีเหลืองล้วน
(วิ. ๒/๓๕)
๓๒.บุรุษ-สตรี จะถวายรองเท้าแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่มีส้นสูง ไม่มีปกส้น ไม่มีปกหลังเท้า มีแต่สายรัดหลังเท้ากับสายที่คีบด้วยนิ้ว และมีสีหม่นหมอง เช่น สีน้ำตาลแก่
(วิ. ๒/๓๖)
๓๓.บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายเตียงตั่งแก่พระต้องเลือกเอาแต่ที่มีเท้าสูงไม่เกิน ๘ นิ้วพระสุคต หรือ ๙ นิ้วฟุต เว้นไว้แต่แม่แคร่ และไม่มีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า เช่น เตียงจมูกสิงห์ หรือบัลลังก์ และเตียงนั้นต้องไม่ใหญ่ถึงนอนได้ ๒ คน ที่นอนก็ไม่ใหญ่อย่างเตียง ฟูกเตียง ฟูกตั่ง และที่นั่งที่นอนไม่ยัดนุ่นหรือสำลี
(รตนวรรค ข้อ ๕ และ วิ. ๒/๓๙)
๓๔.บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายหมอนหนุนศีรษะแก่พระ ต้องให้มีขนาดหนุนได้ศีรษะเดียวไม่ถึง ๒ ศีรษะ หมอนข้างไม่ควรถวาย
(วิ. ๒/๔๐)
๓๕.สตรี ต้องไม่นั่ง บนอาสนะผืนเดียวกัน บนเตียงม้านั่งเดียวกันกับพระ แม้บนพื้นที่ไม่มีอะไรปูลาดเลย ก็ไม่ควรนั่งเสมอกับพระหรือสูงกว่าพระ ไปในรถ-เรือมีที่จำกัด จะต้องนั่งที่ม้านั่งเดียวกันกับพระต้องให้มีบุรุษนั่งคั่นไว้เสียก่อน
(วิ. ๒/๗๐)
๓๖.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาวัตถุอนามาสประเคนพระ วัตถุอนามาส คือสิ่งที่พระไม่ควรแตะต้อง มี ๖ ประเภท ดังนี้ :-
ก. คนหญิง คนกะเทย เครื่องแต่งกายของคนเหล่านั้น แต่ที่เขาสละแล้วไม่นับ ตุ๊กตาหญิง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ข. ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์ที่ขัดแล้ว ศิลาชนิดดี เช่น หยก โมรา
ค. ศัสตราวุธต่างชนิด ที่ใช้ทำร้ายชีวิตร่างกาย
ง. เครื่องดักสัตว์บก-น้ำ
จ. เครื่องประโคม
ฉ. ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่
(วิ. ๒/๗๓)
๓๗.สตรี ไม่ควรเกลี้ยกล่อม ยั่วเย้าพระด้วยการพูดประเล้าประโลม หรือด้วยการแต่งตัวชะเวิกชะวาก หรือล่อด้วยทรัพย์
(วิ. ๒/๙๑)
๓๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเด็กเล่น เช่นเรือน้อยๆ รถน้อยๆ ถวายพระ
(วิ. ๒/๑๑๘)
๓๙.บุรุษ-สตรี ไม่ควรชักชวนพระเล่นการพนัน มีแพ้ มีชนะ เช่นหมากรุก หมากแยก ฯลฯ
(วิ. ๒/๑๑๘)
๔๐.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเรียนดิรัจฉานวิชาจากพระและไม่ควรบอกดิรัจฉานวิชาแก่พระ ดิรัจฉานวิชาคือความรู้ในการทำเสน่ห์ ในการใช้ภูตผีปีศาจทำผู้อื่นให้ถึงความวิบัติในทางอวดฤทธิ์เดชต่างๆ ในทางทำนายทายทักบอกหวยบอกเบอร์ ในทางที่นำให้หลงงมงาย เช่นหุงเงิน หรือทองแดงให้เป็นทอง
(วิ. ๒/๑๒๐)
๔๑.บุรุษ-สตรี ไม่ควรใช้พระในกิจนอกพระพุทธศาสนา แต่จะขอให้ช่วยกิจพระพุทธศาสนา เช่นให้ช่วยนิมนต์พระไปในการบำเพ็ญบุญอยู่ได้
(วิ. ๒/๑๒๐)
๔๒.บุรุษ-สตรี ไม่ควรนำสิ่งของอันมีค่าฝากไว้กับพระ เพราะอาจเกิดอันตรายแก่พระได้ เช่น อันตรายในการเจริญสมณธรรม ถูกปล้น ถูกเป็นผู้สำนองในเมื่อของนั้นหาย
(วิ. ๒/๑๒๒)
๔๓.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่ไม่นิยมเป็นอาหารถวายพระ เนื้อที่ไม่นิยมเป็นอาหาร คือ เนื้อมนุษย์ ช้าง-ม้า-สุนัข-งู-สีห์-เสือโคร่ง-เสือเหลือง-หมี-เสือดาว
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๔.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหารแต่ยังดิบ ไม่สุกด้วยไฟ เช่น ปูเค็ม กุ้งส้ม หอยเค็ม ปลาเค็ม แหนม กะปิ ลาบเนื้อดิบ ไข่ลวกไม่สุก ประเคนพระ ควรมอบไว้แก่กัปปิยการก คือผู้มีหน้าที่ทำให้เป็นของควรแก่พระ
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๕.บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาอุทิศมังสะถวายพระ อุทิศมังสะ คือเนื้อหรือไข่สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงภิกษุสามเณร
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๖.บุรุษ-สตรี อย่าเอาพีชคาม คือผลไม้มีเมล็ดสุกบางอย่าง เช่นพริกสุก มะเขือสุก อ้อยที่ยังไม่ได้ปอก ผักบุ้ง ขมิ้น กระชาย กระเทียม หอม โหระพา กะเพรา ฯลฯ ที่พ้นจากที่เกิดที่อยู่แล้ว แต่ยังปลูกให้งอกได้อีกถวายพระ ควรทำให้เป็นของที่ไม่อาจปลูกให้งอกได้แล้ว จึงถวายพระ
(วิ. ๒/๑๓๕)
๔๗.บุรุษ-สตรี จะทำน้ำปานะถวายพระ ควรเลือกเอาผลไม้สุกที่นิยมเป็นอาหาร ชนิดที่ไม่โตกว่าผลมะตูมหรือผลกระเบา ขนาดเล็กไม่จำกัด เอามาทำความสะอาด คั้นแล้วกรองให้หมดกาก เจือน้ำจืดที่สะอาดบ้างก็ได้ แต่อย่าใช้น้ำร้อน และอย่าต้มน้ำปานะด้วยไฟ จะเจือน้ำตาลเกลือบ้างก็ได้ ทำแล้วต้องถวาย ให้พระฉันในวันนั้น อย่าปล่อยให้ข้ามราตรี
(วิ. ๒/๑๓๙)
๔๘.บุรุษ-สตรี ไม่ควรถือเอามรดกของพระผู้มรณภาพไปแล้ว ไม่ว่าพระรูปนั้นจะเป็นพ่อ ลูก ญาติ มิตร หรือเกี่ยวข้องกันโดยสถานะไรๆ ก็ตาม แม้พระได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะทางวินัยของสงฆ์มีอยู่ว่า มรดกของพระผู้มรณะตกเป็นของสงฆ์ทั้งหมด แม้พระได้พูดไว้ด้วยคำอันเป็นอนาคตว่า “ถ้าฉันตายแล้ว เธอจงเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป” ดังนี้ ก็ถือเอาไม่ได้ แต่สิ่งที่พระมอบให้ด้วยคำเป็นปัจจุบันว่า “ฉันให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่เธอ” ก็ถือเอาได้เฉพาะสิ่งที่ระบุถึง หากระบุทั้งหมดก็ถือเอาได้ทั้งหมด
(วิ. ๒/๑๕๔/๑๕๕)
๔๙.บุรุษ-สตรี เมื่อจะถือเอาสิ่งของของพระด้วยวิสาสะ ต้องให้ครบองค์ ๓ คือ
ก. เคยเห็นกัน เคยคบกัน เคยพูดกันไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข. รู้ว่าถือเอาแล้ว เจ้าของจักพอใจ
ค. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่
(วิ. ๒/๑๕๗)
๕๐.บุรุษ-สตรี เมื่อพยาบาลพระผู้เจ็บหนัก ฉันอาหารไม่ได้ ครั้นถึงเวลาวิกาลหิวจัด หากมิได้อาหารอาจเป็นอันตราย จะต้มข้าวหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหาร (เว้นอุทิศมังสะ) ให้เหลว กรองให้หมดกาก เอาแต่น้ำข้าว น้ำเนื้อที่ใสถวายให้พระดื่มในเวลาวิกาลได้ การที่จะอ้างว่า แพทย์สั่งให้พระป่วยฉันอาหารในวิกาลได้ แล้วนำอาหารชนิดต่างๆ ไปถวายในวิกาลนั้น ไม่ควรเลย หากพระอยากฉันอาหารในวิกาลโดยไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัยแล้ว ควรให้สึกเสียก่อน จึงจัดถวายให้รับประทาน
(วิ. ๒/๑๗๕)
๕๑.สตรีที่เป็นโสเภณี เป็นหม้าย เป็นสาวเทื้อ เป็นชี และกะเทย ไม่ควรไปมาหาสู่กับพระ โดยไม่เป็นกิจจลักษณะหรือผิดเวลา
(วิ. ๒/๑๘๑)
๕๒.บุรุษ-สตรี ไม่ควรนิมนต์พระเข้านั่งในร้านสุรา จะเป็นที่ขาย หรือที่กลั่นสุราหรือที่ดองเมรัยก็ตาม
(วิ. ๒/๑๘๑)
---------------------------------------------------------------------------------
พุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ควรรู้จักพระวินัยบางข้อ ของพระภิกษุสงฆ์ไว้ด้วย เพราะว่าพระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่อันสำคัญที่สุด คือรักษาตัวอย่าให้มีโทษทางพระวินัย จึงจะสมเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบรมศาสดา และจะได้สมเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นนาบุญของชาวโลก ไม่บริโภคจตุปัจจัยของเขาให้เปลืองเปล่า เปรียบเหมือนอย่างพื้นนาอันปราศจากวัชพืช คือหญ้าที่เป็นโทษ ย่อมจะอำนวยให้ข้าวที่ชาวนาหว่านลงเจริญงอกงาม มีผลเต็มเมล็ดเต็มรวง แต่หากว่านารกไปด้วยวัชพืช ข้าวที่หว่านลงก็มีผลไม่เต็มที่ ข้อนี้ฉันใด พระภิกษุหรือสามเณร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าศีลไม่ขาด ไม่มีโทษทางพระวินัย ก็เท่ากับนาที่ไม่รก พืชบุญที่หว่านลงก็ย่อมมีผลมาก มีกำไรมาก แต่ถ้าศีลขาดมากมีโทษทางพระวินัยมาก ก็เท่ากับที่นารก พืชบุญที่ชาวโลกหว่านลงก็มีผลน้อยมีกำไรน้อย ด้วยเหตุนี้ หระภิกษุสามเณรผู้ตระหนักในหน้าที่ของตน จึงพยายามรักษาตัวมิให้เป็นนาที่รกด้วยวัชพืช
ก็ในการรักษาตัวนั้น พระภิกษุสามเณรบางรูปบางครั้งบางคราว ไม่สามารถจะให้บริสุทธิ์เท่าที่ควรได้ เพราะคฤหัสถ์หรือบุรุษ สตรีหรือทายกทายิกา ผู้ไม่รู้วินัยของพระ และมีธุระเกี่ยวข้องกับพระในวาระต่างๆ เช่นในคราวทำบุญ แต่ทำไม่ถูกต้องพระวินัย ภิกษุเกรงใจคฤหัสถ์บางทีคฤหัสถ์เกรงใจภิกษุ จึงทำให้พระต้องอาบัติ คือต้องโทษทางพระวินัย อย่างนี้คฤหัสถ์ได้บุญก็จริง แต่ได้น้อยเพราะขณะเดียวกันนั้นพระได้บาปต้องโทษไม่บริสุทธิ์ เหมือนนาที่รกเสียแล้ว อนึ่ง บางทีบางรูปไม่รู้วินัยของตนเองดีพอ หรือบางรูปรู้วินัยดีแล้ว แต่ไม่เอื้อเฟื้อในวินัยก็ย่อมเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ในทางที่ผิดๆ และคฤหัสถ์ก็ไม่รู้วินัยของพระจึงพากันปฏิบัติผิดร่วมกันอย่างนี้ จึงรู้สึกว่าไม่ค่อยเหมาะกับพุทธศาสนิกชนเลย
---------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
http://www.dharma-gateway.com/
http://www.84000.org/
รูปภาพ megazy.com http://goo.gl/poAz0d
----------------------------------------------------------------------------------
ติดตามเรื่องน่าอ่านอีกมากมาย ได้ที่ เพจนิทานธรรม
เพจ : www.facebook.com/Nitandham
เว็บไซค์ : http://nitandham.blogspot.com
Youtube : https://goo.gl/F27gUr
เข้าร่วมกลุ่มของเราได้ที่
https://www.facebook.com/groups/Nitandham/

พระพุทธเจ้าได้เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้บ้างในอดีต





เรื่อง พระพุทธเจ้าได้เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้บ้างในอดีต
พระ พุทธเจ้าของเราทรงเผยพระประวัติกรรมและผลของกรรมของพระองค์ กับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะประทับเหนือพระศิลาอันน่ารื่นรมย์ใกล้สระอโนดาด ตรัสชี้แจงบุรพกรรมทั้งหลายของพระองค์ ๑๔ ข้อ ณ ที่นั้นว่า
๑. เราเห็นภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้ว ได้ถวายผ้าเก่า เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลของกรรมคือการถวายผ้าเก่า ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า กรรมเก่าข้อแรกนี้เป็นกุศลกรรม
๒. ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาลต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัวจึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ แม้เราจะกระหายน้ำก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามปรารถนา
๓. ในชาติอื่นแต่กาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ บางแห่งเป็นมุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก ด้วยกรรมอันเหลือนั้นในภพหลังสุด เราจึงได้รับคำกล่าวตู่ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
๔. เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้วได้ถูกกล่าวตู่เป็นอันมาก ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางสุนทริกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง
๕. เมื่อก่อนเราเป็นพราหมณ์ชื่อสุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา สอนมนต์ให้กับมาณพ ๕๐๐ คนอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นฤาษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษีผู้ไม่ประทุษร้าย โดยได้บอกกะพวกศิษย์ของเราว่าฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้นมาณพทั้งปวงเที่ยวไปภิกขาในสกุล พากันบอกแก่มหาชนว่าฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุทั้ง ๕๐๐ เหล่านี้ได้รับคำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
๖. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์จับใส่ลงในซอกเขา แล้วทับด้วยหิน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วเท้าของเราจนห้อเลือด
๗. ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ในหนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผาดักไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนูผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา
๘. ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้างได้ไสช้าง ให้จับมัดพระปัจเจกมนีผู้สูงสุด แม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้าย วิ่งแล่นเข้าไปในคอกเขา เบื้องหน้าผู้ประเสริฐ
๙. ในกาลก่อน เราเป็นทหารราบ เป็นแม่ทัพฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมที่เหลือนั้น บัดนี้ไฟนั้นยังมาไหม้ที่เท้าของเราทั้งสิ้นอีก เพราะกรรมยังไม่พินาศไป
๑๐. ในกาลก่อน เราเป็นเด็กลูกของชาวประมงในบ้านเกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะคือปวดศีรษะได้มีแล้วแก่เรา ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน ถูกพระเจ้าวิฏฏุภะฆ่าแล้ว พระเจ้าวิฏฏุภะนี้คือพระเจ้าวิฑูฑภะที่ฆ่าเจ้าศากยะนั่นเอง
๑๑. เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลายในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ ว่า “ท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย” ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้วอยู่ในเมืองเวรัญชา ได้บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน
๑๒. ในเวลาที่นักมวยปล้ำๆ กันอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความปวดหลังได้มีแก่เรา
๑๓. เมื่อก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้บุตรเศรษฐีตาย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นโรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา โรคนี้แหละที่เกิดแก่พระพุทธเจ้าของเราในเวลาใกล้จะปรินิพพาน
๑๔. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล่าว่า เมื่อเราเป็นมาณพชื่อโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหนโพธิญาณนั้นท่านได้ยากยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราได้ทำกรรมที่ทำได้ยากคือทุกกรกิริยา ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้นจึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เรามิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ คือมิได้บรรลุโพธิญาณด้วยทุกกรกิริยานี้ เราอันบุพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณในทางที่ผิด บัดนี้เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวงไม่มีความโศกเศร้า ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน
---------------------------------------------------------------------------------
ข้อคิดจากเรื่องนี้..
เดี๋ยวนี้การสะเดาะเคราะห์แก้กรรม มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ทั้งที่วัดและที่สำนักของอาจารย์ทั้งหลาย ผู้ตั้งตัวเป็นผู้แก้กรรมก็เป็นทั้ง พระ แม่ชี ฆราวาส จากเรื่องนี้ ท่านผู้อ่านลองดูก่อน นี้ขนาดพระพุทธเจ้ายังมีกรรม และท่านก็เฉยที่จะแก้ไขกรรมเก่าใดๆของท่านเลย แล้วเราเป็นปุถุชนคนธรรมดาสามารถทำอะไรกับกรรมเก่านี้ได้ไหม?
เรื่องทำบุญแก้กรรม กรรมดีกรรมชั่วเมื่อทำไว้ไม่หายไปไหน สุดท้ายแค่รอเวลาให้ผลในวันหนึ่ง การ **แก้กรรม** ตามหลักพุทธศาสนาถือว่าทำไม่ได้ (แต่ทำให้**หมดกรรม**ได้) สามารถบรรเทาหรือเลื่อนการให้ผลออกไปได้ สิ่งสำคัญสุดสำหรับคนอยาก แก้กรรม(บรรเทา) คือจิตที่สำนึกผิดและตั้งใจมั่นจะไม่เบียดเบียนใครในทุกด้านอีกแล้วตลอด ชีวิต ซึ่งต้องยอมรับผลกรรมส่วนหนึ่งด้วย ไม่ใช่จะหนีไม่ยอมรับโทษเลย แยกแยะให้ดีๆ นะครับ ระหว่างคำว่า แก้กรรม กับ หมดกรรม
----------------------------------------------------------------------------------
เราควรกระทำ 3 อย่าง
1.เฉย ยอมรับวิบากกรรมอันนั้น ถือว่ากรรมสิ้นสุดลง
2.ถ้า ประทุษร้ายตอบ เท่ากับพอรับผลกรรมชั่วแล้ว ก็สร้างกรรมชั่วขึ้นมาใหม่ ในภายภาคหน้าก็จะโดนประทุษร้ายอีก
3. ให้อภัย และแผ่เมตตา เท่ากับรับวิบากกรรมเก่าแล้ว ก็สร้างวิบากกรรมดีขึ้นมาแทน ในกาลต่อไป ศัตรูนั้นก็จะกลายเป็นมิตร หรือได้รับวิบากกรรมดีแทน
ขอให้ท่านผู้อ่านอย่าได้ท้อแท้กับเรื่องที่ไม่ดีเข้ามาในชีวิตเรานะครับ ขอให้เรายอมรับ และให้ใช้สติปัญญา แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง ขอให้ธรรมะ นำทางแก่ทุกท่าน
----------------------------------------------------------------------------------
ส่วนวิธีที่จะให้หมดกรรมเลยนั้น เราสามารถทำได้อย่างแน่นอน ขอยกที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ให้ท่านผู้อ่านลองคิดดู
*****ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ*****
เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อลงมาให้สั้นๆคือ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้เราหมดกรรม ถึงที่สุดแห่งความหมดทุกข์ได้ นั้นคือการเข้าสู่มรรคผลนิพานนั้นเอง
ผู้เขียน...เรื่องนี้ยาวสักหน่อยครับ แต่ก็หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้รับประโยชน์ ไม่มากก็น้อย
ขอบพระคุณที่ติดตาม
----------------------------------------------------------------------------------
ที่มา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต - หน้าที่ 219
ว่าด้วย บุพจริยาของพระองค์เอง
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=32&A=7849&Z=7924
----------------------------------------------------------------------------------
ติดตามเรื่องน่าอ่านอีกมากมาย ได้ที่ เพจนิทานธรรม
เพจ : www.facebook.com/Nitandham
เว็บไซค์ : http://nitandham.blogspot.com
Youtube : https://goo.gl/F27gUr
เข้าร่วมกลุ่มของเราได้ที่
https://www.facebook.com/groups/Nitandham/
----------------------------------------------------------------------------------

80 เรื่องของ ในหลวง ที่เรา ไม่เคยรู้





80 เรื่องของ ในหลวง ที่เรา ไม่เคยรู้

ในฐานะคนไทยแล้ว คุณคิดว่า คุณรู้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์ดีหรือยัง หากว่ายังลองเข้าไปอ่าน 80 เรื่องราวของในหลวง ซึ่งบางเรื่องคุณอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้....

**เมื่อทรงพระเยาว์**
1. ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.(เวลาท้องถิ่น สหรัฐฯ)
2. นายแพทย์ผู้ถวายการคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3. พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
4. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5. ทรงมีชื่อเล่นว่า “เล็ก” หรือ “พระองค์เล็ก”
6. เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนม์ 2 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระชนกและสมเด็จพระชนนี
7. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างสามัญชนว่า "แม่"
8. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า "บ๊อบบี้"
12. ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำจะต้องลุกขึ้น บ่อยๆ
13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที่ ในหลวงจะทรงต่อรองว่าทีเดียวก็พอ
14. ระหว่างประทับอยู่สวิส จะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศสกับสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระพระเจ้าพี่นางเธอฯ แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
16.ในหลวงทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและลาติน
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำ อะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆเขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"
17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
**ทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ**
19. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol" หมายเลขประจำตัว 449
20. ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
21. หลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศสวิสอีกครั้งเพื่อทรงศึกษาวิชาใหม่ คือกฎหมาย และการปกครอง เนื่องจากต้องรับพระราชภาระเป็นพระมหากษัตริย์ ในด้านวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทรงศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ เกี่ยวกับพื้นฐานและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เพื่อเป็นแนวปรับปรุงแก้ไขประเทศไทยให้เจริญขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชปรารภอยู่เสมอว่า ประเทศไทยของพระองค์ยังล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการศึกษา ฯลฯ
22.ในหลวงทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและละติน

**พระอัจฉริยภาพ**

23. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก “การเล่น” สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากทรงอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ทรงประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับสมเด็จพระเชษฐา เพื่อซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วทรงนำมาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
24. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และแผนภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็น จิ๊กซอว์
25. ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด แต่ทรงโปรดแคลริเนท , แซกโซโพนและทรัมเป็ตมากที่สุดแต่เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
26. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาทรงหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
27. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
28. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ “แสงเทียน” จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
29. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง “เราสู้”
30.วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2506 เสด็จทรงปลูกต้นนนทรี 9 ต้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พร้อมทั้งทรงดนตรีเป็นครั้งแรกร่วมกับวง "อ.ส.วันศุกร์" ซึ่งมีอาจารย์และศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมด้วย คือ ศ.ดร.ระพี สาคริก และนายอวบ เหมะรัชตะ
31. ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการช่าง ซึ่งทรงโปรดหุ่นจำลองต่าง ๆ เช่นเรือใบเรือรบเป็นต้น ในคราวเสด็จนิวัตเมืองไทย ตอนก่อนสงครามโลก ได้ทรงจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นแล้วเจ้าพระยารามราฆพก็ได้ทูลขอพระราชทานไปสำหรับให้พ่อค้าประชาชนได้ ประมูลราคากันเพื่อเก็บเงินบำรุงโรงพยาบาลปราบวัณโรค ทรงถ่ายรูปไว้แล้วพระราชทานให้ไปตามประสงค์ ปรากฏว่า น.ส.เลอลักษณ์ เศรษฐบุตร ได้ประมูลซื้อไปเป็นเงินถึง 20,000 บาท อนึ่ง แม้แต่รูปเรือลำนั้นที่ทรงถ่ายโดยฝีพระหัตถ์ นายสหัส มหาคุณ เป็นผู้ประมูลซื้อไปถึงรูปละ 3,000 บาท
32. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉาย เพื่อนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
33. พระราชนิพนธ์เรื่อง ”นายอินทร์” และ “ติโต” ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่เรื่องพระมหาชนกทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
34. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ”กีฬาซีเกมส์”) ครั้งที่ 4 ปี 2510
35. ครั้งหนึ่งในหลวงทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่งและตรัส กับผู้ที่คอยมาเฝ้าว่า เสด็จกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
36. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิด ค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ “กังหันชัยพัฒนา” เมื่อปี 2536
37. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็น พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
38. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวาย รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง

**เรื่องส่วนพระองค์**

39. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 ณ พระตำหนัก “วิลลาวัฒนา” และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493
40.ในพระราชพิธีอภิเษกสมรส ในหลวงทรงพระราชทานของที่ระลึกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และพระญาติ คือ หีบเงินขนาดเล็กมีพระปรมาภิไธยคู่ปรากฏบนหีบนั้น
41. หลังอภิเษกสมรส ทรงเสด็จ “ฮันนีมูน” ที่หัวหิน
42. ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระนามเต็มของในหลวงคือ... พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
43.พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
44. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
45. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาและพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ฉายา สุจิตฺโต ป.๗) วัดบวรนิเวศวิหาร
46. ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
47. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
48. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ
พระราชกรณียกิจ
49. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
50. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่งคือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
51. ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียว กระดาษที่จะนำมาให้ข้อราชการที่เข้าเฝ้าถวายงาน
52. ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้อราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
53. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศ ที่ทรงหาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
54. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
55. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
56. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”
57. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
58.ตั้งแต่ปี2539 เป็นต้นมา ทรงพระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” เพื่อให้ราษฎรได้พึ่งพาตนเองได้

**ของทรงโปรด**

59. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
60. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
61. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
62. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
63. ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
64. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที่ จส.100 ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
65. ตอนเช้าเมื่อตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
66. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อจนถึงปัจจุบัน
67. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
68. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
69. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า “ทำราชการ”
70. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีพระชนม์เพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอด
71. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้ บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า “อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก”
72. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
73. หัวใจทรงเต้นไม่ปกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสมา ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
74. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
75.ในหลวงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก
76.ในงานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีพระราชวงศ์จากทั่วโลกเสด็จมาร่วมงาน 25 ราชวงศ์
77. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6 ล้านคน
78. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
79. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
80. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง


ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระเกษมสำราญ มีพระพลานมัยแข็งแรงสมบูรณ์ ทรงหายจากอาการพระประชวร มีพระชนม์ยิ่งยืนนาน
เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ตลอดกาลนานเทอญ.
--------------------------------------------------------------------
ติดตามเรื่องน่าอ่านอีกมากมาย ได้ที่ เพจนิทานธรรม
เพจ : www.facebook.com/Nitandham
เว็บไซค์ : http://nitandham.blogspot.com
Youtube : https://goo.gl/F27gUr
เข้าร่วมกลุ่มของเราได้ที่ https://www.facebook.com/groups/Nitandham/
--------------------------------------------------------------------

สามเณรปลาดุก

ปีนี้ วัดป่าภูผาแดงมีสามเณรตัวน้อยๆมาจำพรรษา ชื่อว่าสามเณรปลาดุก
มีชื่อจริงฟังดูน่าเกรงขามดีว่า สามเณรประยุทธ
เณรปลาดุก อายุเพี ยง 5 ขวบ แต่สามารถทำข้อวัตรปฏิบัติกิจได้เหมือนสามเณรผู้ใหญ่ เณรปลาดุกตื่นตี ๔ ทุกวัน พอถึงเวลาตี ๕ เณรจะลงมาที่ศาลาใหญ่เพื่อจัดบาตร จากนั้นออกไปเดินบิณฑบาตกับพระสงฆ์ โดยเณรปลาดุกจะเดินเป็นรูปสุดท้าย ปิดท้ายแถว หลังจากบิณฑบาตเสร็จ เณรจะกลับมาฉันในบาตร เมื่อฉันเสร็จจะล้างบาตรเอง จากนั้นกลับกุฏิ เวลาบ่ายโมงมาจัดโรงน้ำร้อนช่วยครูบาอาจารย์ ฉันน้ำร้อนเรียบร้อย บ่ายสามโมงครึ่งทำข้อวัตร กวาดตาด ถูศาลา เสร็จแล้วกลับกุฏิ สรงน้ำ ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา จากนั้นจำวัตร
.






ส่วนข้อวัตรที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่ลี กุสลธโรนั้น เวลา ๕ โมงเย็น เณรปลาดุกจะเข้าไปนั่งเฝ้าหลวงปู่ คอยเก็บผ้าขาวที่หลวงปู่ใช้แล้วเพื่อเอาไปซัก ระหว่างนี้ถ้าองค์หลวงปู่นอนหลับ เณรปลาดุกจะนั่งภาวนา ซึ่งความสามารถในการนั่งภาวนาของเณรน้อยนั้น ครูบาอาจารย์ท่านว่า สามารถนั่งได้นานถึง ๒ ชั่วโมงโดยไม่กระดุกกระดิกเลย โดยหลวงปู่ท่านจะเอ็นดูโดยให้ช็อกโกแลตแก่เณร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ หากศรัทธาญาติโยมท่านใด อยากช่วยกันสืบต่อพระพุทธศาสนา ก็ขอเชิญใส่บาตรเณรปลาดุกได้ทุกวันที่บ้านหนองอ้อ และบริเวณหน้าวัดป่าภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี - ขออนุโมทนา